กลัศหรือหม้อกลัศ
กลัศหรือหม้อกลัศ
ปัจจุบันเมืองไทยเรา มีการบูชาเทพเจ้าฮินดู กันอย่างแพร่หลาย จึงขอนำบทความบางส่วน
เรื่องเครื่องสักการะบูชาสำคัญ ในพิธีของศาสนาฮินดู มาให้อ่านกันค่ะ
กลัศบูชา หม้อกลัศ ถูกนำมาใช้ในพิธีศาสนาฮินดู มาตั้งแต่ยุคพระเวทแล้วซึ่งในยุคพระเวท
เรียกว่า โสมกลัศ หรือ จันทรกลัศ ในยุคพระเวทเชื่อว่าหม้อกลัศ
คือหม้อที่บรรจุน้ำอัมฤต (อมฤต)เป็นแหล่งธารของชีวิต
และเป็นตัวแทนของความสมบูรณ์พืชพรรณธัญญาหาร
เนื่องจากน้ำเป็นสัญลักษณ์ของความบริบูรณ์และหม้อน้ำก็ดุจดั่งครรโภทรของพระแม่ธรณี
ซึ่งยังให้เกิดพืชผล สมบูรณ์ตามมา :กลัศได้ค่อยๆปรับเปลี่ยนความหมาย
จากสัญลักษณ์ของความสมบูรณ์ มาสู่การเป็นสัญลักษณ์ของเทพเจ้า :
กลัศจึงแบ่งออกได้ตามวิวัฒนาการและความหมายดังนี้ :
1.เป็นสัญลักสษณ์ของหม้อปูรณฆตะหรือหม้อน้ำแห่งความสมบูรณ์
ตามระบบชีววิทยาตามแนวคิดพระเวท
2.เป็นตัวแทนของเทวดา วรุณ ซึ่งเป็นเทวดาในคฤเวท
3.เป็นตัวแทนของเทวดาต่างๆตามแต่จะสถาปนาเช่น สัตยนารายณ์ พระเทวี
พระพิคเณศ กลัศจึงไม่ใช่”บายศรี”
โดยประการสำคัญคือ กลัศไม่ใช่”เครื่องบูชา”แต่ตัวกลัศเองเป็น”วัตถุแห่งการบูชา”
อ.รุ่งฟ้า